Home » การเงินส่วนบุคคล » อัพเดต ดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ MLR MOR และ MRR ทุกธนาคาร

อัพเดต ดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ MLR MOR และ MRR ทุกธนาคาร

บทความโดย

เกี่ยวกับ

เผยแพร่เมื่อ

แก้ไขเมื่อ

ดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคาร ลดดอกเบี้ย MLR MOR MRR อัตราดอกเบี้ยใหม่

สัปดาห์ที่ผ่านมาหลาย ธนาคารลดดอกเบี้ย MLR MOR และ MRR เพื่อตอบรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มาดูกันว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของแต่ละธนาคารลดลงเท่าไหร่กันบ้าง?

หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมาเพื่อลดภาระต้นทุนทางการเงินลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ธนาคารต่างๆ จึงได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ ที่ธนาคารปรับลดลงจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ MLR (Minimum Loan Rate), MOR (Minimum Overdraft Rate), และ MRR (Minimum Retail Rate)

  • MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา
  • MOR (Minimum Overdraft Rate) คือ ดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
  • MRR (Minimum Retail Rate) คือ ดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี

โดยในบทความนี้ insurethink จะพาไปดูอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารทีเอ็มบีและธนชาต และธนาคารอาคารสงเคราะห์


ธนาคารไทยพาณิชย์

SCB ประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125-0.35% เพื่อเร่งการฟื้นตัวของฐานะการเงินในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนให้กลับมาโดยเร็ว และช่วยบรรเทาผลกระทบภาระต้นทุนดอกเบี้ยของลูกค้าธนาคารฯ โดยเร่งด่วน ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนด้านสภาพคล่องหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด Covid-19 ในหลายเดือนที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • MLR ลดลงจาก 5.375% เหลือ 5.25% (-0.125%)
  • MOR ลดลงจาก 6.095 % เหลือ 5.845% (-0.250%)
  • MRR ลดลงจาก 6.345 % เหลือ 5.995% (-0.35%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อช่วยลูกค้าลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มสภาพคล่อง ให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ และลูกค้าบุคคล ดังนี้

  • MLR ลดลงจาก 5.60% เหลือ 5.47% (-0.13%)
  • MOR ลดลงจาก 6.22% เหลือ 5.84% (-0.38%)
  • MRR ลดลงจาก 6.10% เหลือ 5.97% (-0.13%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารกสิกรไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพ ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั้ง 3 ประเภท เหลือต่ำสุด 5.25% เพื่อสนับสนุนกลไกภาครัฐ และช่วยเหลือลูกค้าผู้ประกอบการและประชาชนลดต้นทุนทางการเงินรับมือโรคโควิด-19

  • MLR ลดลงเหลือ 5.25%
  • MOR ลดลงเหลือ 5.875%
  • MRR ลดลงเหลือ 5.75%

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารกรุงเทพ มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

เพื่อลดผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจและภาระต้นทุนดอกเบี้ยของลูกค้าอันเนื่องมาจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยลบที่ตามมา กรุงศรีจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ย MLR, MOR และ MRR ลงอีก หลังจากที่ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อไปแล้ว 3 ครั้ง ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 24 มีนาคม และ 10 เมษายน 2563 นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ส่งผลให้เงินให้สินเชื่อของกรุงศรีมีอัตราดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

  • MLR ลดลงจาก 5.83% เหลือ 5.58% (-0.25%)
  • MOR ลดลงจาก 6.30% เหลือ 5.95% (-0.35%)
  • MRR) ลดลงจาก 6.30% เหลือ 6.05% (-0.25%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกรุงไทยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125-0.40% ต่อปี เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและสนับสนุนกลไกของภาครัฐในการสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน

  • MLR ลดลงจาก 5.375% เหลือ 5.25% (-0.125%)
  • MOR ลดลงจาก 6.22% เหลือ 5.82% (-0.40%)
  • MRR ลดลงจาก 6.345% เหลือ 6.22% (-0.125%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารกรุงไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน ลดดอกเบี้ยสอดคล้องทิศทางนโยบายดอกเบี้ยของ กนง. ร่วมบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 พร้อมดูแลลูกค้ารายย่อย ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125% – 0.25% โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • MLR ลดลงจาก 6.275% เหลือ 6.150% (-0.125%)
  • MOR ลดลงจาก 6.245% เหลือ 5.995% (-0.25%)
  • MRR ลดลงจาก 6.370% เหลือ 6.245% (-0.125%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารออมสิน มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากในครั้งนี้ไม่มีการปรับลดลงแต่อย่างใด โดยธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินเพื่อการออมยังคงส่งเสริมภาคการออมต่อเนื่องต่อไป หรือภายหลังจากการประชุมครั้งต่อไปของ กนง. ในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ซึ่งธนาคารจะมีการพิจารณาทบทวนการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง


ธนาคารทีเอ็มบี และธนชาต

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด -19 ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบทางเศรษฐทั่วโลก ธนาคารได้ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ทีเอ็มบี และธนชาตจึงขอประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR (Minimum Lending Rate), MOR (Minimum Overdraft Rate) และ MRR (Minimum Retail Rate) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • MLR ลดลงจาก 6.25% เหลือ 6.125% (-0.125%)
  • MOR ลดลงจาก 6.275% เหลือ 6.15% (-0.125%)
  • MRR ลดลงจาก 6.63% เหลือ 6.28% (-0.350%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารทีเอ็มบี และธนาคารธนชาต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป


ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.125% – 0.250% ต่อปีเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเกิดการฟื้นตัวและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้าในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • MLR ลดลงจาก 5.875% เหลือ 5.750% (-0.125%)
  • MOR ลดลงจาก 6.150% เหลือ 5.900% (-0.250%)
  • MRR ลดลงจาก 6.275% เหลือ 6.150% (-0.125%)

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป