Home » ประกันภัย » ประกันภัยทรัพย์สิน คืออะไร? คุ้มครองทรัพย์สินอะไร

ประกันภัยทรัพย์สิน คืออะไร? คุ้มครองทรัพย์สินอะไร

บทความโดย

ใน

เผยแพร่เมื่อ

แก้ไขเมื่อ

ประกันภัยทรัพย์สิน คือ ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน คุ้มครอง

ประกันภัยทรัพย์สิน คืออะไร?

ประกันภัยทรัพย์สิน คือ ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของบุคคลหรือกิจการโดยตรงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่คาดคิดตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ และภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุอย่างไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น

โดยพื้นฐานประกันภัยทรัพย์สินจะให้ความคุ้มครองไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด พายุ ลูกเห็บ ภัยจากยานพาหนะ และภัยอากาศยานเป็นหลักสำหรับความคุ้มครองส่วนอื่นที่ผู้เอาประกันต้องการแต่ไม่ได้ให้ความคุ้มครองในกรมธรรม์ ผู้เอาประกันอาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมเพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติม

สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับประกันอัคคีภัยมาบ้างจะเห็นว่าความคุ้มครองและสิ่งที่เรากำลังอธิบายของประกันภัยทรัพย์สินจะมีความคล้ายกับประกันอัคคีภัยอยู่พอสมควร เนื่องจากประกันภัยทรัพย์สินเป็นการประกันภัยที่มีพื้นฐานมาจากการประกันอัคคีภัยแต่ให้ความคุ้มครองที่กว้างกว่าการประกันอัคคีภัยโดยให้ความคุ้มครองความเสียหายเช่นเดียวกับการประกันอัคคีภัยและรวมถึงความเสียหายอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันจากปัจจัยภายนอก ซึ่งผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนาหรือมุ่งหวัง

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ความคุ้มครองของประกันภัยทรัพย์สินเป็นส่วนหนึ่งของแผนประกันอัคคีภัย ความคุ้มครองทรัพย์สินจะคุ้มครองทรัพย์สินในสิ่งก่อสร้างเท่านั้น แต่สำหรับประกันภัยทรัพย์สินจะคุ้มครองทรัพย์สินโดยตรง และด้วยความใกล้เคียงกันของลักษณะการคุ้มครองนี้เองทำให้ปกติจะไม่ค่อยได้เห็นประกันที่เรียกว่าประกันภัยทรัพย์สินบ่อยนัก แต่มักจะเป็นประกันภัยทรัพย์สินที่ถูกรวมเอาไว้กับประกันอัคคีภัยแทน

ประกันภัยทรัพย์สิน คุ้มครองอะไรบ้าง?

ความคุ้มครองการประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สินเป็นการกำหนดแบบสรรพภัย คือ กรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งมิได้ถูกระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย จึงอาจเห็นว่ามีการเขียนข้อยกเว้นไว้มากกว่าในการประกันภัยอื่น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าสิ่งใดจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย

โดยการคุ้มครองของประกันภัยทรัพย์สินจะคุ้มครองตามมูลค่าของสินทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยที่คุ้มครอง แต่จะคุ้มครองได้ไม่เกินมูลค่าการคุ้มครองสูงสุดที่ถูกระบุมูลค่าเอาไว้ในกรมธรรม์

ตัวอย่างเช่น สมมติว่านาย A ทำประกันภัยทรัพย์สินเอาไว้และในสัญญาประกันภัยทรัพย์สิน ระบุเอาไว้ว่าคุ้มครองความเสียหายของเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงสุด 500,000 บาท

ถ้าหากว่าเกิดเหตุการณ์อย่างเช่นไฟไหม้แล้วประเมินความเสียหายออกมาได้ 100,000 บาท เงินชดเชยที่นาย A จะได้รับจากบริษัท ประกันภัยทรัพย์สินคือ 100,000 บาท (ไม่ใช่ 500,000 บาท) โดยความคุ้มครองสูงสุดที่ได้รับจากประกันภัยทรัพย์สินอาจแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของ “ภัย” ที่เกิดขึ้น (ผู้ทำประกันควรศึกษาในส่วนนี้อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกัน)

นอกจากนี้ ประกันภัยทรัพย์สินยังสามารถแยกได้ตามลักษณะหรือประเภทของทรัพย์สินตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด เช่น

  • การประกันภัยเงินที่คุ้มครองการสูญเสียเงินจากการปล้น อัคคีภัย ความเสียหายต่ออาคาร และความเสียหายต่อตู้นิรภัย เป็นต้น
  • การประกันภัยป้ายโฆษณาและป้ายไฟนีออน เมื่อเกิดความเสียหายต่อป้าย หรือต่อบุคคลภายนอก (เช่น การที่ป้ายหล่นทับคน)
  • กรมธรรม์ประกันภัยสิทธิการเช่า ซึ่งจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการสูญเสียมูลค่าในการเช่าซึ่งได้ชำระไว้ล่วงหน้า เนื่องจากสัญญาเช่าต้องสิ้นสุดลงเพราะสถานที่เช่าได้รับความเสียหายตามที่คุ้มครอง เช่น เกิดอัคคีภัย ฟ้าผ่า การระเบิด จนทำให้สถานที่เช่าได้รับความเสียหายต่อโครงสร้างจนไม่สามารถใช้สถานที่เช่าดังกล่าวประกอบกิจการได้อีก

คำถามที่พบบ่อย

ประกันภัยทรัพย์สิน คืออะไร?

ประกันภัยทรัพย์สิน คือ ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินโดยตรงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ไม่คาดคิดตามที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย เช่น ภัยจากธรรมชาติ และภัยจากอุบัติเหตุ

ประกันภัยทรัพย์สิน คุ้มครองอย่างไร?

การคุ้มครองของประกันภัยทรัพย์สินจะคุ้มครองตามมูลค่าของสินทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยที่คุ้มครอง แต่จะคุ้มครองได้ไม่เกินมูลค่าการคุ้มครองสูงสุดที่ถูกระบุมูลค่าเอาไว้ในกรมธรรม์

ประกันภัยทรัพย์สิน และ ประกันอัคคีภัย ต่างกันอย่างไร?

ประกันภัยทรัพย์สินเป็นการประกันภัยที่มีพื้นฐานมาจากการประกันอัคคีภัยแต่ให้ความคุ้มครองที่กว้างกว่าการประกันอัคคีภัยโดยให้ความคุ้มครองความเสียหายเช่นเดียวกับการประกันอัคคีภัยและรวมถึงความเสียหายอันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันจากปัจจัยภายนอก

ติดตามเราได้ที่: