Home » การเงินส่วนบุคคล » มาตรการช่วยเหลือ COVID-19 เกี่ยวกับประกันภัย

มาตรการช่วยเหลือ COVID-19 เกี่ยวกับประกันภัย

เผยแพร่เมื่อ

แก้ไขเมื่อ

มาตรการช่วยเหลือ COVID 19 ประกัน

รวมความคุ้มครองและมาตรการช่วยเหลือ COVID-19 เกี่ยวกับการประกันภัย สำหรับประชาชนผู้เอาประกันภัย และคนกลางประกันภัย

มาตรการช่วยเหลือ COVID-19 เกี่ยวกับประกันภัยทั้งหมด 12 มาตรการสำหรับผู้เอาประกัน และ 4 มาตรการสำหรับคนกลางประกันภัย ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่ 17 เมษายน 2563

ทั้งนี้ในบางมาตรการขึ้นอยู่กับบริษัทประกันว่าจะให้ความช่วยเหลือในมาตรการบางมาตรการหรือไม่ และจะให้ความช่วยเหลือมากหรือน้อยแค่ไหน

มาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้เอาประกัน

มาตรการที่ 1 ขยายระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกันจากเดิมออกไปอีก 60 วัน สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิต กรมธรรม์ประกันสุขภาพ หรือกรมธรรม์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองเดียวกัน ที่ครบกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยประกันระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

มาตรการที่ 2 ยกเว้นการคิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือนหากผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุหรือกลับคืนสู่สถานะเดิมสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สิ้นผลบังคับระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

มาตรการที่ 3 บริษัทอาจยกเว้นหรือปรับลดดอกเบี้ย ในกรณีนำมูลค่าเวนคืนชำระเบี้ยอัตโนมัติหรือกู้ยืมตามกรมธรรม์ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่นำมูลค่าเวนคืนชำระเบี้ยอัตโนมัติหรือกู้ยืมตามกรมธรรม์ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

มาตรการที่ 4 บริษัทอาจยกเว้นดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน สำหรับผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงการชำระเบี้ยประกันภัยมาเป็นรายงวดที่น้อบกว่า 1 ปี หรือชำระเบี้ยประกันรายงวดที่น้อยกว่า 1 ปี ได้แก่ รายเดือน ราย 3 เดือน และราย 6 เดือน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

มาตรการที่ 5 บริษัทอาจปรับเพิ่มจำนวนเงินกู้ยืมเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย

มาตรการที่ 6 บริษัทอาจให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 10% ของจํานวนเบี้ยประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตและสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองสุขภาพโดยตรงกับบริษัทประกันภัย และการประกันอัคคีภัย การประกันภัยเบ็ดเตล็ด ที่กําหนดไว้ในรายงานสถิติธุรกิจประกันวินาศภัยทองสํานักงาน คปภ. ที่ทําสัญญาประกันภัยกับบริษัทหรือชําระเบี้ยตามสัญญา ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และวันที่เริ่มมีผลคุ้มครองไม่เกิน วันที่ 31 สิงหาคม 2563

มาตรการที่ 7 ผู้เอาประกันภัยอาจเปลี่ยนแปลงระยะเวลาการเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองของการประกันภัยการเดินทางได้ สําหรับผู้เอาประกันภัยที่มีกําหนดเดินทาง ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และมีเหตุจําเป็นต้องเลื่อนการเดินทาง ผู้เอาประกันภัยอาจขอให้บริษัทเปลี่ยนแปลงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของการประกันภัยการเดินทางได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบก่อนวันเริ่มต้นความคุ้มครอง

มาตรการที่ 8 ผ่อนผันให้บริษัทประกันภัยเรียกเก็บเบี้ยประกันภัยรถยนต์ได้ ภายใน 180 วัน (สําหรับรถยนต์นั่ง ในกลุ่ม 3-5)

มาตรการที่ 9 เปิดให้สามารถยื่นร้องเรียน ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และยื่นคําเสนอข้อพิพาทในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกได้

มาตรการที่ 10 ขอรับและขอผ่อนชําระค่าเสียหายเบื้องต้น ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

มาตรการที่ 11 พักการผ่อนชําระหนี้โดยไม่ต้องยื่นคําร้องขอ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 – 30 กันยายน 2563 สําหรับลูกหนี้ที่ทําสัญญา ผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถไว้แล้ว และขยายเวลาชําระหนี้ในงวดแรกออกไปอีก 6 เดือนนับแต่วันที่ทําสัญญา สําหรับลูกหนี้ที่ทําสัญญาผ่อนชําระหนี้ค่าเสียหายเบื้องต้นกับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563

มาตรการที่ 12 จัดตั้งศูนย์ทํางานเฉพาะกิจคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19


มาตรการช่วยเหลือคนกลางประกันภัย

มาตรการที่ 1 ขยายระยะเวลาต่ออายุใบอนุญาตสําหรับตัวแทน-นายหน้าประกันภัยที่ใบอนุญาตหมดอายุ ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 สามารถยื่นขยายเวลาต่ออายุได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 และผ่อนผันให้ตัวแทน-นายหน้าประกันภัยสามารถยื่นต่ออายุฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยเข้าอบรมและยื่นหนังสือรับรองไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563

มาตรการที่ 2 งดรับสมัครและจัดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย ชั่วคราวจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 (ติดตามรายละเอียดที่ www.oic.or.th หรือ e-mail : [email protected])

มาตรการที่ 3 ขอความร่วมมือหน่วยงานจัดอบรม ชะลอหรือเลื่อนการจัดอบรมความรู้เพื่อขอรับหรือต่ออายุใบอนุญาตฯ และให้สิทธิตัวแทน-นายหน้าประกันภัยไม่คิดค่าใช้จ่ายสําหรับการอบรมครั้งต่อไป และผ่อนผันให้มีการจัดอบรมต่ออายุใบอนุญาตตัวแทน-นายหน้าประกันภัยแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)

มาตรการที่ 4 ออกประกาศการเสนอขาย แบบ Digital Face to Face เพื่อให้การขายประกันต่อหน้าบุคคล สามารถทําได้ทางอิเล็กทรอนิกส์